กรมการพัฒนาชุมชน ชูศูนย์จัดการกองทุนชุมชนแก้ปัญหาหนี้แก่ประชาชน

 

กรมการพัฒนาชุมชน ชูศูนย์จัดการกองทุนชุมชนแก้ปัญหาหนี้แก่ประชาชน




 

“ความเหลื่อมล้ำ” คือ ความไม่เท่าเทียมกัน (inequality) โดยเฉพาะพื้นที่ชนบทและกลุ่มเปราะบาง ไม่ว่าจะเป็นความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ความเหลื่อมล้ำทางสาธารณสุข รวมไปถึงความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาที่เป็นปัญหาอยู่คู่กับสังคมมาอย่างยาวนานเป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาระดับประเทศ อย่างปัญหาหนี้สิ้น ซึ่งคนที่เป็นหนี้ส่วนใหญ่มักถูกมองว่า เกิดจากการใช้จ่ายฟุ่มเฟือยหรือการขาดวินัยทางการเงินที่ดี แต่มีคนจำนวนไม่น้อยเป็นหนี้จากความจำเป็นที่เลี่ยงไม่ได้ บางรายต้องแบกรับภาระครอบครัว หรือเป็นหนี้จากความเจ็บป่วย และอุบัติเหตุกะทันหันที่ไม่คาดคิด อีกทั้งยังมีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่มาซ้ำเติมให้ปัญหาหนี้สินยิ่งพอกพูนขึ้นเรื่อย ๆ

 



นายสมคิด จันทมฤก อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน เปิดเผยว่า ผลจากการพัฒนาประเทศที่ผ่านมา ยังพบว่ามีปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำของประชาชนในชนบท ประชาชนส่วนหนึ่งต้องการเงินทุนในการเลี้ยงชีพแต่ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันในการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย จึงได้ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการจัดตั้งองค์กรการเงินชุมชนในพื้นที่ชนบททั่วประเทศ เช่น กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต กองทุนแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) กองทุนกลุ่มอาชีพต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนได้มีโอกาสเข้าถึงแหล่งทุน สามารถกู้ยืมเงินมาลงทุนในการประกอบอาชีพ เพื่อสร้างอาชีพ สร้างรายได้ โดยมี “ศูนย์จัดการกองทุนชุมชน” เป็นองค์กรในการบูรณาการกองทุนชุมชน ขับเคลื่อนโดยคณะกรรมการศูนย์จัดการกองทุนชุมชนที่มาจากตัวแทนของกลุ่ม องค์กรการเงินต่าง ๆ ในหมู่บ้าน/ชุมชน ดำเนินการบริหารจัดการหนี้ครัวเรือนให้ประชาชนที่เป็นหนี้ซ้ำซ้อนกันหลายสัญญา ปรับโครงสร้างหนี้ ปรับลดอัตราดอกเบี้ย ขยายระยะเวลาการชำระหนี้ โดยมีเป้าหมายให้ประชาชนสามารถลดหนี้ และปลดหนี้ได้ในที่สุด ซึ่งผลการดำเนินงานของศูนย์จัดการกองทุนชุมชนที่ผ่านมา ในช่วงปี 2560 - 2562 สามารถบริหารจัดการหนี้ให้กับครัวเรือนเป้าหมายที่เข้าสู่กระบวนการบริหารจัดการหนี้ไปสู่ 1 ครัวเรือน 1 สัญญา จำนวน 45,873 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 50.77 ของครัวเรือน สามารถลดและปลดหนี้ได้ถึง 871,827,496 บาท

 



การแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคครัวเรือน  โดยศูนย์จัดการกองทุนชุมชนนี้ จึงเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคครัวเรือนของประชาชนในระดับฐานรากได้อย่างยั่งยืน ประกอบกับความเข้มแข็งของคณะกรรมการศูนย์จัดการกองทุนชุมชนที่สามารถบูรณาการการทำงานโดยยึดหลักธรรมาภิบาล ทำให้การขับเคลื่อนงานมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังสนับสนุนองค์ความรู้ทางวิชาการ เทคโนโลยี นวัตกรรม ภูมิปัญญาและทักษะในการพัฒนาอาชีพ สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการให้ทันสมัย นำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ช่วยหนุนเสริมให้ชุมชนบริหารจัดการหนี้ของครัวเรือนให้หมดไปได้ สอดคล้องกับหลักการ “ระเบิดจากข้างใน” ซึ่งเป็นรากฐานการพัฒนาอย่างยั่งยืน จนสามารถคว้ารางวัลเลิศรัฐ สาขาบริการภาครัฐ ประเภทพัฒนาการบริหาร ประจำปี 2564 ซึ่งเป็นรางวัลที่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของบุคลากรสำนักพัฒนาทุน และองค์กรการเงินชุมชน คณะกรรมการศูนย์จัดการกองทุนชุมชน และชาวพัฒนาชุมชนทุกจังหวัด อำเภอ ที่เพียรพยายาม ตั้งใจเพื่อพี่น้องประชาชน ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยมุ่งหวังให้เศรษฐกิจฐานรากมั่นคง และชุมชนมีความเข้มแข็งพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

วัดบ้านไร่ ขอเชิญศิษยานุศิษย์หลวงพ่อคูณ ร่วมทอดผ้าป่าในโอกาสครบรอบการละสังขาร 100 ปี ชาติกาล พระเทพวิทยาคม (หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ)

โรมัน เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ คอมเพล็กซ์ จัดงานรับเทศกาลสงกรานต์

ก้องหล้า ภูวดลอานนท์” บิ๊กบอส ภูฟ้า เอ็นเตอร์ไพรส์ เปิดตัวสถานบำบัดและพักฟื้นผู้ติดยาเสพติดภาคเอกชนสาขาสอง “สวรรค์-อินเตอร์เนชั่นแนล หัวหิน” ช่วยสังคม ”คืนคนรัก..กลับคืนสู่ครอบครัว”